วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงพ่อหลวง ร.๙ (The main concept of the sufficiency of His Majesty. 9.)

ขอบคุณภาพจาก http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html
          
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจน
ใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ � ส่วน ดังน��
      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการ
มองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย � คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

          •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน
              ตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป
              อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
              ด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              ในอนาคตทั้งใกล้และไกล 


     เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้
และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
    ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
    และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม
    มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
     แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี


ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html  
ขออนุญาติดเผยเเพร่นะครับ.







The main concept of sufficiency economy

     Developed under the sufficiency economy is developing on the basis of the center line and.
As a precaution, taking into account the modest rationality immunity in the body as well.
A deep moral and thoughtful planning. Decisions and actions

          Philosophy of Sufficiency Economy
A major consideration is the section.
      • The concept is the guiding philosophy of existence and behave in the way it should be.
The basis of the traditional lifestyle of Thailand. The car all the time and is applied.
World systems have changed over time. Focused immune to crisis and disasters.
Stability and sustainable development.
      • feature-sufficiency can be applied to their practice at all levels.
By focusing on the middle path. And development stages.
      • definition sufficiency must include features simultaneously follows.

          • Modesty means the fit is not too little and not too much without hurting.
              Themselves and others Such as production and consumption in moderation.
          • a realistic means to decide about the level of self-sufficiency must be.
              Rationally by considering the relevant factors and taking into account the effects are expected to occur.
              Of action that carefully.
          • Having a good immune meant to prepare affected and changed.
              The other will take place taking into account the possibility of a situation that is expected to occur.

             
 In the future, both near and far
Conditions, decision-making and implementation activities at a level sufficient to rely on the knowledge.
And the moral basis that is
Conditional knowledge includes knowledge about the technical aspects are concerned.
Providence to put that knowledge into account to link together. To planning
And careful in practice
conditions prevailed To strengthen contain Are aware of the virtues
Are honest and have patience, perseverance, wisdom in life.
     Practices / results are expected to be. From the philosophy of Sufficiency Economy is applied.
Balanced and sustainable development With the changes in all aspects. Economic, social, environmental
Knowledge and Technology

Thanks Source http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html

Permission of publishing the post.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น