วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2560

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ของไทย (ส่งกำลังใจให้ชาวใต้กันครับ) และช่วยสบทบเงินน้ำใจน้อยเพื่อคนไทยด้วยกันครับ.

                             
       ขอความกรุณาผู้ใจบุญช่วยสมทบเงินช่วยเหลือภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ของประเทศไทยด้วยนะครับและสนับสนุนทีมเเพทย์ให้เข้าถึงชาวบ้านที่เจ็บป่วยด้วยนะครับ   ข้าพขอขอบพระคุณมากและส่งกำลังใจให้ชาวใต้นะครับ  ติดต่อ http://www.amarintv.com/live-tv/   http://www.thaitv3.com/       http://www.adintrend.com/     http://www.ch7.com/
http://www.mcot.net/
ดูรายละเอียดข่าวได้เลยครับ



วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หน้าที่ของเด็กไทย "ในวันลอยกระทง" (Children of Thailand "Loy Kratong")

       หน้าที่ของเด็กไทย "ในวันลอยกระทง" (Children of Thailand "Loy Kratong")

         การนำกระทงที่ประดิษฐ์ขึ้น ไปลอยบูชาพระแม่คงคา ด้วยสำนึกถึงบุญคุณที่มนุษย์
และสิ่งมีชีวิตได้อาศัยเพื่อการดำชีวิต

   
                                            หลักปฏิบัติ
        เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี น้ำในแม่น้ำลำคลองจะเอ่อเต็มตลิ่ง ชาวพุทธต่างสำนึกในบุญคุณของแม่น้ำลำคลองที่ได้อาศัย เพื่อการดำรงชีวิต จึงจัดพิธีลอยกระทงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาทั้ง พิธีหลวงและพิธีราษฎร์ (พิธีหลวงเรียกว่า การลอยพระประทีป)
         รูปทรงของกระทงจะทำเป็นรูปคล้ายดอกบัว ตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียนปักไว้ ก่อนลอยจะจุดธูปเทียนแล้วกล่าวคำอธิษฐาน แล้วจึงลอยกระทงในแม่น้ำลำคลอง   เด็กไทยควรจะได้มีส่วนร่วมประเพณีในวันลอยกระทงโดยคำอธิษฐาน แล้วจึงลอยกระทงในแม่น้ำลำคลอง
เด็กไทยควรจะได้มีส่วนร่วมประเพณีในวันลอยกระทงโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมไทย คือ รักษามารยาทและวัฒนธรรมที่ดีงาม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ไม่เพิ่มความสกปรกให้แม่น้ำลำคลอง ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุทางน้ำ

ขออนุญาติเผยเเพร่
เเหล่งที่มาจากหนังสือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
สาระการเรียนรู้ : สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระหลัก : หน้าที่พลเมือง


ผู้ปิดทองหลังพระ - คาราบาว

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงพ่อหลวง ร.๙ (The main concept of the sufficiency of His Majesty. 9.)

ขอบคุณภาพจาก http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html
          
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
     การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจน
ใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีหลักพิจารณาอยู่ � ส่วน ดังน��
      •  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการ
มองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ
ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
      •  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      •  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย � คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

          •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียน
              ตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไป
              อย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
          •  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
              ด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
              ในอนาคตทั้งใกล้และไกล 


     เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้
และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
    ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
    และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม
    มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
     แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี


ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล http://www.eto.ku.ac.th/s-e/main-th.html  
ขออนุญาติดเผยเเพร่นะครับ.




วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข้าเจ้า..เอื้องดอย

ภาษาเหนือวันนี้เสนอคำว่า"บ่ดีนอนเดิ๊ก กำเดวจะลุกขวาย"


        
                                                     วันนี้ภาษาเหนือเสนอคำว่า 
                          "บ่ดีนอนเดิ๊ก  กำเดวจะลุกขวาย"  
                                                    หมายถึง  อย่านอนดึกเดียวจะตื่นสาย

มาทำความเข้าใจกับประโยคภาษาเหนือกัน

       หากเราได้ไปเที่ยวทางภาคเหนือ  ไม่ว่าจะไปเที่ยวในฤดูหนาว  เที่ยวสงกรานต์  หรือมาสูดอากาศสดชื่นนั้น  เมื่อเราได้เข้าไปในเขตชุมชน  ย่อมได้ยินประโยคที่ชาวบ้านเค้าพูดกันหลากหลายครับ  บางคนพูดเร็ว บางคนพูดช้า  ยิ่งคนที่ไม่รู้ภาษาเหนืออย่างเราด้วยแล้ว  กว่าจะทำความเข้าใจคงต้องให้ชาวบ้านเค้าแปลภาษาคำเมืองเป็นภาษาไทยอีกทีนึงแน่ๆ ฮ่า ฮ่า!! แต่คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย  ถ้าเรารู้ความหมายของภาษาเหนือบางประโยค  ที่เค้าพูดกันบ่อยๆนั้น  เพื่อที่เราจะได้สื่อสารกับเค้าได้ไม่มากก็น้อย 

       คนภาคเหนือก็ใจดีเหมือนกับคนไทยทุกๆภาคนั่นแหล่ะครับ  เจอใครก็ทักทายกันบ้าง แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดนั่นก็คือ  คนภาคเหนือมักจะทักทายกันด้วยคำว่า "กิ๋นข้าวแล้วกา (กินข้าวหรือยัง)" ซึ่งผู้เขียนคาดว่าคงเป็นกุสโลบายที่พูดติดปากกันมาตั้งแต่สมัยอดีต เพราะการถามเรื่องการข้าวนั้น จะมีความหมายกว้างไปถึงเรื่องของการอยู่ดีมีสุข มีอยู่ มีกินนั่นเอง  และอีกนัยหนึ่งน่าจะเป็นเพราะคนสมัยโบราณนั้น  ต้องกินข้าวก่อนไปทำงาน  จะได้มีเรี่ยวแรงในการทำงานนั่นเอง



วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นิทานสอนใจก่อนนอนจาก NuPim_NuYoK



❤️❤️❤️นิทานสอนใจก่อนนอนจาก  NuPim_NuYoK❤️❤️❤️




เทพารักษ์กับคนตัดไม้
   ชายตัดไม้คนหนึ่งเดินไปตัดไม้อยู่ริมลำธาร เขาพลัดทำขวานตกลงในแม่น้ำ  เขาเสียใจยิ่งนัก เทพารักษ์เห็นเขาเสียใจจึง โผล่ขึ้นจากน้ำพร้อมขวานทอง
ขวานนี้ของเจ้าใช่ไหม ชายตัดไม้ตอบ ไม่ใช่ ไม่ใช่ขวานของข้า
เทพารักษ์ดำลงไปใหม่พร้อมโผล่มากับขวานเงิน ขวานนี้ของเจ้าใช่ไหม
ชายตัดไม้ตอบ ไม่ใช่ ขวานข้าเป็นเหล็กธรรมดา
เทพารักษ์ดำลงไปอีก พร้อมโผล่มากับขวานเหล็ก ขวานนี่ของเจ้าใช่ไหม
ใช่ครับ นี่แหละขวานของข้า เทพารักษ์ประทับใจในความซื่อสัตย์ จึงมอบขวานเงินและขวานทองให้กับเขาไป   ชายตัดไม้ดีใจเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนเกิดความโลภ จึงแสร้งทำเป็นขวานหล่นลงแม่น้ำ เทพารักษ์โผล่ขึ้นมาพร้อมขวานทอง ถามว่านี่ใช่ขวานของเจ้าไหม    เพื่อนชายตัดไม้รีบตอบ ใช่ๆ นี่แหละขวานของข้า   เทพารักษ์กล่าว เจ้าคนคด เจ้าไม่มีความซื่อสัตย์ เจ้าจะไม่ได้ขวานของเจ้าคืนกล่าวเสร็จเทพารักษ์ก็หายตัวไป ปล่อยให้เพื่อนชายตัดไม้เสียใจอยู่ริมลำธาร
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า โลภมากย่อมลาภหาย